ขนมกงเกวียน ขนมโบราณแปลกที่รูปทรงจนต้องค้นหาที่มาของขนม

ขนมกงเกวียน ขนมโบราณแปลกที่รูปทรงจนต้องค้นหาที่มาของขนม

ขนมในแต่ละประเทศรวมถึงขนมแต่ละชนิดไม่ว่าจะมาจากประเทศ หรือได้รับอิทธิพลจากกลุ่มคนที่คิดทำขึ้นมา ไม่ว่าจะมีที่มาในการเริ่มทำขนมจากความเชื่อ เทศกาล หรือการลองผิดลองถูกจากวัตถุดิบที่มีอยู่มาก จนเกิดขนมอย่างหนึ่งที่มีรสชาติอร่อย และสืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้คนรุ่นหลังๆ ได้เรียนรู้ ได้ลองกินขนมในอดีตที่บางรุ่นอาจจะเกิดไม่ทัน โดยเฉพาะขนมที่มีการทำจากคนรุ่นก่อนๆ ที่มีกรรมวิธีที่แตกต่างจากยุคปัจจุบันที่เราอยู่ ถือว่านอกจากได้กินความอร่อยแล้ว ยังได้กำไรในการเรียนรู้ความเป็นมาของขนมเหล่านั้นว่าที่มีที่มาที่ไปอย่างไร อย่างในขนมไทยๆ วันนี้ที่จะพาไปค้นหาที่มากันกับ ขนมกง หรือขนมกงเกวียน ขนมกง หรือขนมกงเกวียนนั้นในสมัยที่มีการริเริ่มการทาขนมชนิดนี้ขึ้นในยุคแรกเริ่มคือ อยุธยาจนถึงปัจจุบันที่มีชื่อเสียงขนมชนิดนี้คือ ภาคกลาง (จังหวัดสมุทรสาคร) และทางภาคใต้ที่นิยมทำในเทศกาลวันสารทเดือนสิบ ขนมกงจึงนิยมทำเพื่อนำไปใช้ในงานบุญต่างๆ รวมถึงเป็นขนม 1 ใน 5 หมวดของขนมที่ใช้ในการจัดขันหมาก ด้วยความที่ขนมกง มีการทำเพื่องานบุญที่นอกจากจะทำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในพิธีจัดขันหมากแล้ว ยังเป็นขนมที่ทำในงานพิธีแต่งงานบ่าวสาว ที่ความหมายเป็นมงคลของชื่อขนมกง (ขนมกงเกวียน) คือเป็นการเดินแล่นไปข้างหน้า ความก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จึงเหมือนเป็นคำอวยพรให้เจ้าบ่าว เจ้าสาวให้มีการครองรักสืบต่อกันไปเรื่อยๆ ตลอดไป กรรมวิธี และวัตถุดิบในการทำขนมกงนั้นถึงแม้อาจมีตัววัตถุดิบที่ไม่มาก แต่กรรมวิธีก็ต้องอาศัยความละเอียดอ่อน และขั้นตอนที่มากพอสมควร ตั้งแต่การเคี่ยวตัวหัวกะทิกับน้ำตาลมะพร้าวจากนั้นต้องเตรียมถั่วเขียวที่เลาะเปลือก บดละเอียดนำมาผสมกับส่วนผสมแรกแล้วปั้นเป็นเส้นกลมยาวทำเป็นวง แล้วมีเส้นพาดระหว่างวง จากนั้นต้องทำแป้งที่ชุปทอด โดยมีแป้งข้าวเจ้ากับแป้งข้าวเหนียวร่วมกับไข่ น้ำปูนใส และจบที่ผสมหัวกะทิอีกครั้งเพื่อชุปทอด ระหว่างการทอดขนมกงนั้น ยังต้องหยดแป้งชุปที่ตัวขนมกงเพื่อให้เหมือนเป็น หัวเพชร หัวพลอย เพื่อความสวยงาม […]