นัตโตะถั่วเน่าญี่ปุ่น ประโยชน์ที่ได้จากการหมักถั่ว

เมื่อพูดถึงอาหารสุขภาพหนึ่งในประเทศที่ใส่ใจและเน้นในเรื่องอาหารที่กินเข้าไปแล้วสร้างผลดีให้กับร่างกายคือ ประเทศญี่ปุ่น และถือว่าเป็นประเทศต้นๆ ที่มีประชาชนที่อยู่ในวัยผู้สูงอายุมากจนปัจจุบันเกือบเรียกได้ว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุได้เพราะจำนวนผู้สูงอายุเกือบเทียบเท่าวัยคนทำงานสำหรับประเทศญี่ปุ่น อย่างที่เรารับรู้มาว่าอาหารญี่ปุ่นมีส่วนช่วยให้ประชากรในประเทศมีอายุยาวนานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เต้าหู้ที่ทำมาจากถั่วเหลือง ผักสด และเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ปลอดสารพิษเน้นความปลอดภัยให้กับคนในประเทศกิน และมีอาหารอีกอย่างที่มองข้ามไปไม่ได้ที่อยู่ในส่วนของอาหารที่ช่วยเสริม ประโยชน์ให้กับร่างกายอย่าง นัตโตะ ถั่วเน่า ซึ่งในไทยทางตอนเหนือก็มีถั่วเน่าแต่มีกรรมวิธีในการทำไม่เหมือนกัน และการทำออกมาในรูปลักษณะภายนอกก็ไม่เหมือนกัน เรามาตามดูกันว่าถั่วเน่าที่ได้รับการหมักแบบคนญี่ปุ่นมีความเป็นมายังไงกันบ้าง นัตโตะถือว่าเป็นอาหารพื้นเมืองสำหรับคนญี่ปุ่น สำหรับการหมักนัตโตะแบบคนญี่ปุ่นนั้นทำมาจากถั่วเหลืองที่ได้รับการแช่น้ำค้างคืน และนำเปลือกออกจากนั้นนำถั่วเหลืองไปนึ่งให้สุกแล้วถึงนำมาลดอุณหภูมิเพื่อที่จะเตรียมนำแบคทีเรียแบบสดที่เรียกว่า Bactillus Subtilis Natto หรือเรียกอีกชื่อว่า Natto-kin ถั่วเน่าของคนญี่ปุ่นเรียกว่ามีคุณประโยชน์กับร่างกายมากๆ เพราะนอกจากมีคุณค่าทางโปรตีน ยังมีสารโปรไบโอติกส์ และวิตามินเคที่ช่วยโรคหัวใจ และระบบหลอดเลือดที่สมอง และควบคุมระดับคอลเลสเตอรอล ถือว่าเป็นอาหารจานเล็กๆ ที่กินคู่กับกับข้าวจานหลักแต่มีคุณประโยชน์ล้นเหลือ ใครหลายคนที่ได้เคยกินนัตโตะแล้วคงต้องบอกเป็นเสียงเดียวกันว่ามีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งอาจทำให้กินยากโดยเฉพาะคนที่กินเป็นครั้งแรกอาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวรับรสของถั่วเน่าของทางญี่ปุ่น วิธีการกินนัตโตะที่แนะนำสำหรับคนที่ยังทำใจลำบากในการกินคือ การนำนัตโตะมาผสมกับซอสโซยุ หรือใส่ต้นหอมหั่นซอย และหัวไชเทาขูดฝอยคนให้เข้ากันเพื่อกลบกลิ่นนัตโตะให้เบาบางลง การกินถั่วเน่าญี่ปุ่นนั้นคนญี่ปุ่นจะใช้เป็นจานเคียงเหมือนกิมจิที่กินร่วมกับอาหารจานหลักร่วมกับข้าวญี่ปุ่น ที่ช่วยแก้เลี่ยนและที่สำคัญคือ ประโยชน์ที่ได้ล้นเหลือสำหรับการป้องกันโรค และเพิ่มแบคทีเรียที่ดีให้กับร่างกาย นัตโตะ หรือถั่วเน่าไม่ได้มีการทำเฉพาะที่ญี่ปุ่น หรือไทยเท่านั้นแต่มีที่อินโดนีเซียใช้ชื่อว่า เทมเป้ ที่เนปาลเรียกว่า คิเนมา ส่วนที่แอฟริกาเรียกว่า ดาวาดาวา นอกจากจะนำนัตโตะจะนำมากินคู่กับข้าวเป็นเครื่องเคียงแล้ว ยังสามารถนำมาประกอบอาหารเป็นซูชิ หรือเป็นเครื่องประกอบในจานผัดอย่างยากิโซบะ หรือราเมนน้ำก็สามารถนำนัตโตะวางเป็นท้อปปิ้งด้านบนได้ […]