ความแตกต่างในรสชาติอาหาร 4 ภาคของไทย

ความแตกต่างในรสชาติอาหาร 4 ภาคของไทย #กินอะไรดี

ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยล้วนแล้วมีวัฒนธรรมและประเพณีที่แตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศที่พวกเขาจะต้องสร้างมันขึ้นมาเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ได้ วัฒนธรรมด้านรสชาติของอาหารที่ปรุงเป็นเอกลักษณ์ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมประจำภาคที่บ่งบอกถึงตัวตนอย่างชัดเจน ดังนี้ รสชาติอาหารภาคกลาง ภาคกลางเป็นภูมิภาคราบลุ่ม แม่น้ำไหลผ่านมีการตกตะกอนและดินดอนมากมายเกิดขึ้น จึงเหมาะสมกับการการทำนาเป็นหลัก อากาศจะอบอุ่น ไม่ร้อนมาก วัตถุดิบจึงมักหลากหลายหาได้ไม่ยาก อาหารภาคกลางจะเน้นไปทางรสชาติเค็มและหวาน เผ็ดขนาดพอดีในระดับกลางตามมาตรฐานที่คนทั่วไปสามารถรับประทานได้โดยอาหารที่มีชื่อเสียงประจำภาคก็เช่น ต้มยำกุ้ง แกงเทโพ น้ำพริกมะขาม พะแนงเนื้อ ปลาทูต้มเค็ม ข้าวคลุกกะปิ เป็นต้น รสชาติอาหารภาคเหนือ ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง ทิวเขาสลับสับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล มีลักษณะคล้ายแอ่งกระทะจำนวนมากจึงทำให้พื้นที่แถบภาคเหนือมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นง่าย การใช้ชีวิตของผู้คนจึงเป็นไปอย่างไม่เร่งรีบ คนเหนือมักจะเป็นคนที่เรียบง่าย พูดช้า ใจเย็น อาหารภาคเหนือเองจึงเป็นอาหารที่มีรสชาติไม่เผ็ด เน้นความหวานเป็นหลัก และส่วนใหญ่จะเป็นน้ำพริกกับแกงร้อน ๆ เช่น แกงโฮะ แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม รับประทานคู่กับผัก เป็นต้น รสชาติอาหารภาคใต้ ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรแคบและยาวกว้าง ขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน คือ อ่าวไทยทางด้านตะวันออกและทะเลอันดามันทางด้านตะวันตก อีกทั้งยังมีทิวเขาหินปูนมากมาย มีเกาะน้อยใหญ่เต็มไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ โดยเฉพาะมุสลิมทำให้อาหารส่วนใหญ่ มีดินแดนติดกับมาเลเซียทำให้อาหารภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากมาเลเซียมาก มีการใช้เครื่องเทศสมุนไพรและผงกะหรี่ในอาหารเป็นส่วนประกอบหลักหลายอย่าง เช่น แกงไตปลา […]