“ขนมจีน” พร้อมน้ำยา 3 สูตรอร่อยครบรส การฝึกหัดทำอาหารหรือเครื่องดื่มเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้คนไม่ใช่น้อย อีกทั้งยังเป็นการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์โดยมีผลตอบแทนแรงกายด้วยอาหารของพวกเราเอง
เมื่อเริ่มฝึกฝนจนชำนาญเมนูอาหารหรือเครื่องดื่มที่เคยลองหัดทำเล่นๆ อาจกลายเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับพวกเราต่อไปสักวันหนึ่ง ดังนั้นผู้เขียนจึงมาบอกเล่าวิธีการทำ “ขนมจีน” ให้น่ารับประทานกัน

วัตถุดิบประกอบ
บทความนี้มีสูตรน้ำยาขนมจีนทั้งหมด 3 สูตรคือ น้ำกะทิ ลาว และป่า ซึ่งวัตถุดิบหลักสำหรับทุกน้ำยาประกอบด้วย ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง ข่า พริกแห้ง กระชาย น้ำปลา ลูกชิ้นปลา(ตามความชอบ) และเกลือ ส่วนต่อไปคือวัตถุดิบของน้ำยากะทิได้แก่เนื้อปลาตาเดียว ลูกชิ้นปลาและกะทิ ส่วนน้ำยาลาวและป่ามีวัตถุดิบเหมือนกันได้แก่ ตีนไก่ ปลานิล น้ำปลาร้า พริกสด และใบมะกรูด

ขั้นตอนการปรุง
สำหรับเมนูน้ำยาขนมจีนอาจเป็นสิ่งที่ท้าทายกับผู้ประกอบอาหารไม่ใช่น้อยจึงขอเริ่มขั้นตอนการปรุง “น้ำยากะทิ” ดังนี้
(1) ตั้งหม้อต้มน้ำเดือดเพื่อเครื่องสมุนไพรได้แก่ ตะไคร้ พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ข่า และกระชาย ต้มสักครู่จนเริ่มมีกลิ่นหอม
(2) ใส่เนื้อปลาตาเดียวลงไปและต้มต่อไปจนสุก
(3) นำปลาตาเดียวแกะและเครื่องสมุนไพรออกมาจากหม้อพักสะเด็ดน้ำสักครู่
(4) นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในครกและโขลกให้ละเอียดเพื่อใช้เป็นเครื่องแกงต่อไป
(5) ตั้งหม้อต้มน้ำกะทิตามด้วยเครื่องแกงเคี่ยวต่อไปด้วยอุณหภูมิไฟอ่อนจนกว่ากะทิจะแตกมัน
(6) ใส่ลูกชิ้นปลาและปรุงรสชาติเล็กน้อยด้วยเกลือ และน้ำปลา ส่วนถัดมาคือ “น้ำยาลาวและป่า”
(1) ตั้งหม้อต้มน้ำเดือดใส่ลูกชิ้นปลาและตีนไก่
(2) ตามด้วยตะไคร้เพื่อดับกลิ่นคาวและต้มต่อไปจนกว่าตีนไก่สุก
(3) นำส่วนผสมทั้งหมดมาพักไว้จนสะเด็ดน้ำ
(4) ตั้งหม้อต้มน้ำเดือดอีกครั้งและใส่เครื่องสมุนไพรเช่นเดียวกับเมนูน้ำยาขนมจีน
(5) ใส่เนื้อปลานิลต้มกับเครื่องสมนุไพรต่อไปจนสุก
(6) นำแยกเครื่องสมุนไพรออกมาสะเด็ดน้ำสักครู่และนำไปโขลกละเอียดด้วยครกต่อไป
(7) นำเครื่องแกงที่โขลกละเอียดไปต้มอีกครั้งและกรองเส้นใยแข็งออกมา
(8) นำตีนไก่ ลูกชิ้นปลา เนื้อปลานิลแกะ และเครื่องแกงทั้งหมดมาต้มรวมกันจนเข้าเนื้อ
(9) ปรุงรสชาติด้วยเกลือ น้ำปลา และน้ำปลาร้าตามความชอบ

“เครื่องเคียงผัก” คู่แท้ของขนมจีนน้ำยา
สำหรับน้ำยาขนมจีนที่มีรสชาติเข้มข้นจำเป็นต้องมีเครื่องเคียงผักไว้รับประทานเพื่อตัดรสชาติ ยกตัวอย่างเครื่องเคียงขอน้ำยากะทิประกอบด้วยถั่วงอก ใบโหระพา ถั่วฝักยาว และผักกาดดอง ส่วนน้ำยาลาวประกอบด้วยต้นหอม ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว และกะหล่ำ นอกจากนี้ผู้อ่านสามารถนำผักชนิดอื่นมาทานคู่ได้เพียงผักนั้นควรมีกลิ่นหอมหรือมีเนื้อให้เคียวเช่น แตงกวา เป็นต้น
ขอบคุณภาพจาก https://www.wongnai.com/ และ https://unsplash.com/
#ขนมจีน #รีวิวร้านอาหาร #กินอะไรดี